fbpx
Back

ทำเว็บไซต์ด้วย WordPress ตอบโจทย์ทุกประเภทธุรกิจ แถมติดหน้า 1 Google ง่ายกว่า

ทำเว็บไซต์ด้วย WordPress ตอบโจทย์ทุกประเภทธุรกิจ แถมติดหน้า 1 Google ง่ายกว่า

การทำเว็บไซต์ด้วย WordPress เป็นทางเลือกในการสร้างช่องทางขายสินค้าออนไลน์ (Online Distribution Channel) ที่คุ้มค่า เพราะ WordPress เป็นซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์ด้าน Digital Marketing ในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุน ความสวยงาม ฟังก์ชั่นการใช้งาน ความง่ายในการใช้งาน รวมไปถึงประสิทธิภาพด้าน SEO หรือ Search Engine Optimization ที่แม้แต่ Google ยังยืนยัน
ดร. คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์

iWisdom Academy Founder
ผู้ก่อตั้งสถาบันไอวิสดอม

[sharethis-inline-buttons]

ทำเว็บไซต์ WordPress ร้านค้าออนไลน์

ปัจจุบัน WordPress ถือเป็นโปรแกรมสร้างเว็บไซต์ที่นิยมใช้มากที่สุดในโลก จากข้อมูลของ WordPress.com พบว่าทั่วโลกมีการทำเว็บไซต์ ด้วย WordPress มากกว่า 43 % และที่สำคัญบริษัทขนาดใหญ่ ประเภท Global Brand / International Brand ต่างไว้ใจ และเลือกใช้ WordPress ทำเว็บไซต์กันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น Time Magazine, The New Yorker, Sony, Disney, Target หรือแม้กระทั้ง The New York Times

เลือกอ่านเฉพาะข้อ

ทำเว็บไซต์ "ขายของ" ยังจำเป็นอยู่ไหม

ยุคนี้การขายสินค้าออนไลน์เริ่มต้นได้ไม่ยาก เพราะมีตัวช่วยเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็น Social Media Platform เช่น Facebook, Line, Instagam และ TikTok หรือ E-commerce Platform อย่าง Lazada และ Shopee ทำให้หลายคน ๆ ให้ความสำคัญกับการทำเว็บไซต์น้อยลงไปมาก แถมกูรูโซเชียลบางคนยังให้ความเห็นทำนองว่าการขายสินค้าออนไลน์ยุคนี้ขอแค่ปั้น Facebook หรือ Instagam ให้เจ๋ง ๆ ก็ทำยอดวันละ 100 / 200 บ้าน … ไม่เห็นต้องง้อเว็บไซต์

ส่วนตัวไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับ Idea ลักษณะนี้เท่าไรครับ ผมมองว่า “เว็บไซต์” ยังคงเป็นเครื่องมือการตลาดที่ทรงพลังและจำเป็นต้องมี 

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่าผมเชื่อและศรัทธาในพลังการตลาดของ Social Media เป็นอย่างมาก เพราะที่ ไอฟาร์ม เอง เราก็ขายสินค้าผ่าน Social Media เกิน 7 หลักไปไกล ยิ่งไปกว่านั้น Success Cases ของ Social Commerce ก็มีเห็นเป็นหลักฐานกันเรื่อย ๆ แต่อย่างไรก็ดี ผมยังมองว่าการเทใจให้ Facebook หรือโซเชียลมีเดียอื่น ๆ แบบหมดหน้าตักถือเป็นความเสี่ยงทางธุรกิจที่สูงเกินไปครับ มันเหมือนเรา Put all eggs in one basket ตะกร้าหลุดมือเมื่อไรไข่มีกี่ฟองก็ตกแตกหมด 

ต้องยอมรับกันนะครับว่าปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงเร็วเกินคาดเดาจริง ๆ แถมยังเต็มไปด้วยความไม่แน่อน ไม่มีใครหน้าไหนกล้าฟันธงหลอกว่า Social Media ที่คนฮิตใช้กันทั่วโลกอย่าง Facebook จะยืนเป็นเบอร์ 1 แบบนี้ได้ตลอดไป จะว่าไปทุกวันนี้ Facebook ก็คลายมนต์ขลังไปเยอะ หน้า Feed เต็มไปด้วยโฆษณา การมองเห็นระหว่างเพื่อนก็ลดฮวบทุกวัน ถ้าอยากเพิ่มการมองเห็น ก็ต้องใช้ความพยามในการสร้าง engagement มากกว่าเก่าหลายเท่าตัว ถ้าทำไม่ได้ ก็ต้องอัดเงินเข้าไปแข่งสู้

แต่ยิ่งแข่งกันมากเท่าไร ค่าโฆษณาก็ยิ่งถีบตัวสูงขึ้น

ตอนนี้พ่อค้าแม่ค้าสาย Facebook หลายคนได้แต่ส่ายหัว โดน Ad แพงเล่นงานเข้าไปหลายขนาน ถึงกับไปต่อไม่เป็น เพราะยิ่งยิงเลือดยิ่งไหลออก ครั้นจะขยับตัวไปทางอื่นก็ลำบากเพราะไข่แตกหมดแล้ว

อยากจะบอกว่า Honeymoon Period ของ Facebook หมดไปนานแล้วครับ ประเภทมีสินค้าอะไรก็จับยิง Ad รัว ๆ แล้วนั่งรอนับเงินเหมือนยุคเริ่มต้นไม่มีให้เห็นอีกแล้วครับ 

ถามว่าทุกวันนี้ Facebook ยังทำเงินอยู่ไหม ?

ยังทำเงินได้… และได้ไม่น้อยด้วย….ยืนยันและนอนยันครับ …. แต่ไม่ใช่เอะอะก็ทำแคมเปญ “ทัก Inbox” อย่างเดียวทุกครั้ง การทำ Facebook Ad ให้สำเร็จในช่วงหลัง Honeymoon Period ต้องทำแบบมีกลยุทธ์ และที่สำคัญต้องเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ด้วย ที่ต้องเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ก็เพื่อที่พาลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเดินทางเข้าสู่ Sale Funnel ที่เราวางเอาไว้ครับ 

ที่ต้องทำ Sales Funnel ให้ชีวิตยุ่งยากขึ้นก็เพราะว่าโอกาสน้อยมากครับที่คนเราจะตัดสินใจซื้อสินค้าทันทีเมื่อเห็นโฆษณาเป็นครั้งแรก ไม่เชื่อก็ลองย้อนดูตัวเราซิครับ กว่าจะซื้ออะไรแต่ละครั้ง ใช้เวลาตัดสินใจพอสมควรถูกไหมครับ เว้นแต่เป็นสินค้าที่เราศึกษามามากพอแล้ว หรือไม่ก็เป็นสินค้าประเภท Low involvement products

นอกจากเรื่อง Sales Funnel ผมคิดว่าเว็บไซต์ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย ผมสรุปมาได้ทั้งหมด 7 ข้อตามนี้ครับ

7 เหตุผลที่เรายังต้อง "ทำเว็บไซต์"

1. ออกแบบ Sales Funnel ได้มีประสิทธิภาพมากกว่า

sales funnel

ขอพาทุกคนลงลึกเรื่อง Sales Funnel กันต่อหน่อยครับ

Sales Funnel คือภาพสะท้อน Customer’s Journey  ในมุมมองของเจ้าของสินค้า โดยเริ่มตั้งแต่ให้ลูกค้าตระหนักรู้ถึงปัญหาของตัวเอง เรื่อยไปจนสุดท้ายตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

ในฐานะเจ้าของสินค้า เรามีหน้าที่หา Qauality Traffic เข้ามาเติมลงในส่วน Top of the Funnel (TOFU) ให้ได้อย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นวางกลยุทธ์เพื่อพากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เข้ามาไปยัง Bottom of the Funnel (BOFU) เพื่อ Covert ไปเป็น Purchase ให้ได้มากที่สุด … ยิ่งส่วนปลายสุดของ Funnel กว้างมากเท่าไร แสดงว่า Conversion Rate ของเรายิ่งสูง

กระบวนการในการเติม Traffic ใหม่ ๆ เป็นกระบวนการที่ต้องทำอยู่ตลอดเวลา หยุดไม่ได้ครับ ซึ่งวิธีการในดึง Traffic ก็มีหลายวิธี เช่น การทำ SEO, การยิง Google Ads, การทำ Video Marketing, การทำ Infographic, การจัด Webinar, การแจก / การขาย eBooks รวมทั้งการทำ Facebook Ad

อย่างที่เกริ่นไว้ตอนแรก ในเชิงกลยุทธ์เราไม่ควรเลือกวัตถุประสงค์ในการยิงแต่เพียง Message เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ตัดสินใจซื้อสินค้าทันทีเมื่อเห็นโฆษณาครั้งแรก เราอาจจะได้ผลลัพธ์ในการทักเยอะ แต่หลายต่อหลายครั้งยอดขายกลับไม่สูงตาม พอยอดขายน้อย สิ่งตามมา ROAS หรือ Return on Advertising Spend ก็แย่ตามไปด้วย รายได้ไม่คุ้มทุน

ในทางคณิตศาสตร์มีวิธีเดียวที่เราจะดึงให้ ROAS ขยับขึ้น นั่นคือเราต้องเพิ่ม Conversion Rate เพื่อให้มีรายรับมากขึ้น

แน่นอนเป็นใครก็อยากปิดการขายได้เพิ่มขึ้นทั้งนั้น แต่จะทำอย่างไรล่ะ ?

เห็นอยู่แล้วว่า Fact ในการตัดสินใจซื้อสินค้าของคนเป็นอย่างไร แทนที่จะดึงดันยิง Facebook ให้ลูกค้าทักอย่างเดียวทุกครั้งแคมเปญ ผมเลือกที่จะดึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้เข้าเว็บไซต์ตาม Sales Funnel ที่วางเอาไว้ หลังจากนั้นพยายาม “หล่อเลี้ยง” ให้เขาอยู่กับเรา แล้วค่อย ๆ ขยับจาก TOFU ไปสู่ MOFU จนสุดท้ายไปจบที่ BOFU ให้ได้มากที่สุด

จากประสบการณ์ การดึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเข้าเว็บไซต์ได้ เราจะมีโอกาสในการปิด Deal  ได้มีประสิทธิภาพมากกว่า เนื้อหาในส่วนต่อ ๆ ไปมีเฉลยแน่นอนว่าทำไมถึงมีประสิทธิภาพมากกว่า … ตามกันต่อครับ

2. ทำเว็บไซต์ สร้าง Brand Identity ได้เด่นชัดกว่า

ในยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขันที่รุนแรง ผมคิดว่าเราจำเป็นต้องสร้าง Brand Identity ที่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างการจดจำในใจของลูกค้าขึ้นมาให้ได้

ถ้าเทียบกันปอนด์ต่อปอนด์ระหว่าง “เว็บไซต์” กับ “Social Media” เห็นได้ชัดว่า “เว็บไซต์” กินขาดเรื่องการสร้าง Brand Identity ครับ เราอยากให้ลูกค้ารู้จัก “จริตของแบรนด์” ของเราแบบไหน เราสามารถดีไซน์ Mood & Tone ของเว็บไซต์ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าจะเป็นสไตล์ รูปแบบ สี ฟอนต์ รูปภาพ วีดีโอ หรือแม้แต่เว็บฟังก์ชั่นต่าง ๆ ขณะที่เราทำเรื่องพวกนี้บน Social Platform และ E-commerce Platform แทบไม่ได้เลย

การทำเว็บไซต์ที่มี Brand Identity ที่ชัดเจนและเฉพาะตัว เว็บไซต์ของเราจะ Powerful มากครับ โดยเฉพาะการทำหน้าที่เป็น Filter กรอง Traffic ให้เหลือเฉพาะคนที่มี “จริต” แบบเดียวกับแบรนด์

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพครับ

นอกจากเรื่อง Digital Marketing หลายคนไม่ทราบว่าผมเปิดสอนเพาะเห็ดนานาชนิดมากว่า 15 ปีแล้ว ถ้าผมว่าถามว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายของหลักสูตรอบรมเพาะเห็ดเป็นใคร ผมเชื่อว่าภาพของ “เกษตรกรใส่เสื้อม่อฮ่อม” น่าจะแวบเข้ามาในสมองของหลายคน

แต่จริง ๆ ไม่ใช่ครับ ประมาณ 90% ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของผมหน้าตาประมาณนี้ครับ

ทั้งหมดเป็นฝีมือของ Website Brand Identity ล้วน ๆ ครับ ทุก Touch Point บนเว็บไซต์ เราสามารถประกอบร่างเป็น Brand Identity ในแบบฉบับของเราได้หมด ทั้งเรื่องสี ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่วิธีการเขียนบทความ เช่น ผมมักดัดจริตแทรกภาษาอังกฤษลงไปในบทความเกษตร ง่าย ๆ เพียงเท่านี้ก็สามารถกรองคนที่เราต้องการสื่อสารด้วยได้แล้วครับ

เราอยากได้ลูกค้าแบบไหน เราต้องสร้าง Brand Identity ที่ตรงกับ "จริต" ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายขึ้นมา และนำเสนอ Brand Identity ของเราอย่างสม่ำเสมอจนเกิดภาพจำในใจของลูกค้า

ผมมักจะพูดอยู่เสมอว่า เราอยากได้ลูกค้าแบบไหน เราต้องสร้างนำเสนอ Brand Identity ที่ตรงกับ “จริต” ของลูกค้า ถ้าได้ลูกค้าที่มีจริตเดียวกับเรา การสื่อสาร การโน้วน้าวจะง่าย เราจะพาลูกค้ามูพจาก TOFU ลงไปที่ MOFU ได้ง่าย และแน่นอนการปิดการขายก็จะง่ายขึ้นอีกหลายเท่าตัวครับ

3. สร้าง Convincing Ecosystem ได้ดีกว่า (มาก)

นอกจากเว็บไซต์จะสร้าง Brand Identity  เพื่อ “กรอง” หา “คนที่ใช่” ให้เดินบน Sales Funnel ต่อกับเราได้ดีแล้ว ผมยังมองว่าเว็บไซต์สามารถสร้างบรรยากาศในการโน้มน้าว หรือกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งได้มีประสิทธิภาพมากกว่าครับ

ผมมีตัวอย่างให้ดู ทั้งของผมคนอื่น และของผมเองครับ

รูปที่ 1

รูปที่ 2

รูปที่ 3

ผมขอยืม Agoda มาเป็น Showcase ผมมองว่าเว็บไซต์ของเขาสร้างสภาพแวดล้อมในการโน้มน้าวคนได้ดีมาก … ผมชอบ

จริง ๆ เขาทำไว้ดีหลายอย่าง แต่ขอยกตัวอย่างให้ดู 3-4 จุดนะครับ เดี๋ยวบทความจะยาวจนเกินไป

ผมทดลองเข้าไปหาข้อมูลห้องพักที่หัวหิน ระหว่างลอง Load ข้อมูล (รูปที่ 1) Banner ก็ Popup ขึ้นมา บอกรับประกันว่าราคาของเขาดีที่สุด และยินดีจ่ายส่วนต่างคืนให้หากเราไปเจอเว็บไซต์ไหนที่ขายถูกกว่า ผมคิดว่าจุดนี้น่าจะช่วยสร้าง First Impression ให้กับคนได้เยอะเลยทีเดียวครับ

หลังจากนั้น พอ List รายชื่อโรงแรม (รูปที่ 2) โชว์ขึ้นมา เราโดน “จิตวิทยา” ใส่เข้าอีกหลายดอกเลยครับ เช่น

  • ราคาที่ลดลงแบบ Mega Sale
  • Limited Time Promotion โปรโมชั่นแบบจำกัดเวลา กระตุ้นให้รีบตัดสินใจ
  • คูปองส่วนลดพิเศษอีก 5 %
  • ข้อความ (Popular ! Last booked 1 hour ago) กระต้นให้เกิดความมั่นใจว่าลูกค้าคนอื่นก็เพิ่งจองห้องแบบนี้ไปเมื่อ 1 ชั่วโมงที่แล้ว

พอคลิกเข้าไปดู เขาก็จะโชว์ Offer ต่าง ๆ (รูปที 3) ที่เราจะได้รับเต็มไปหมด รูปแบบการนำเสนอ Offer ของเขาก็น่าสนใจ แทนจะเขียนเป็นเรียงความ เขาก็ดีไซน์ให้เป็นหมวดหมู่ มันทำให้รู้สึกว่าเราได้โน่นได้นี่เต็มไปหมดเลย 

แถมยังกระตุ้นปิดท้ายว่าเฉพาะวันนี้ มีคนจองห้องพัก (น่าจะรวมทุกประเภท) กับเขาถึง 87 คน

ของผมบ้าง แต่ขออนุญาตไม่โชว์เยอะนะครับ … ความลับ ๆๆๆๆ

อันนี้เป็น Banner ให้ส่วนลดพิเศษเมื่อลงทะเบียนหลักสูตร “อบรมเพาะเห็ด” พร้อมกัน 2 คน ซึ่งผม Set Up ให้ Popup ขึ้นมาเฉพาะตอนที่คนยังไม่ตัดสินใจลงทะเบียน และกำลังจะออกจากหน้า Sale Page เพื่อเปลี่ยนใจเขาในวินาทีสุดท้ายให้ได้ 

ผลลัพธ์ถือว่าเยี่ยมมากครับ ผมได้ Coversion จากผู้เข้าอบรมที่มาเป็นคู่เพิ่มมากขึ้นถึงกว่า 35 % โดยไม่ต้องเสียเงินโฆษณา ที่สำคัญไปกว่านั้น เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้นเกือบ ๆ เท่าตัวในขณะที่ Resources ต่าง ๆ คงเดิม มันทำให้ต้นทุนในการขายเฉลี่ยลดลงไปเยอะ กำไร / หน่วยก็ขยับขึ้นอัตโนมัติ

ที่ฉายภาพตัวอย่างให้ดูทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นของ Agoda หรือของผมมันเป็นส่วนหนึ่งในการทำ Neuromarketing บนเว็บไซต์เพื่อจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อกับเราให้ได้ครับ

ซึ่งแน่นอนเราไม่สามารถทำแบบนี้เต็มได้รูปแบบบน Facebook หรือ Social Media อื่น ๆ 

4. การทำเว็บไซต์ ช่วยเรื่อง Data-driven Marketing

อะไรจะเกิดขึ้นกับผมหลังจากผมแวบเข้าไปในเว็บไซต์ของ Agoda ? ใช่แล้วครับ ผมจะโดน Remarketing ตามหลอกหลอนไปอีกหลายวัน  เข้า Facebook ก็เจอ ไป Youtube ก็เจอ เข้าไปเว็บข่าวสาร ก็ยังเจอ 

นี่คือส่วนเล็ก ๆ  ของการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล หรือ Data-driven Marketing

โดยทั่วไป การเก็บข้อมูลของลูกค้าออนไลน์ทำได้ 2 แบบ คือหนึ่งใช้ Code เช่น Facebook Pixel, Google Analytics, GA4 หรืออื่น ๆ และสอง ลูกค้าให้ด้วยความสมัครใจ

สำหรับแบบแรก แม้การยิง Facebook Ad จะเก็บข้อมูลได้ แต่ก็สู้การเก็บข้อมูลผ่านเว็บไซต์ไม่ได้ เว็บไซต์จะเก็บข้อมูลได้ครบถ้วนกว่า เพราะเราสามารถเก็บ Traffic ที่มาจาก Organic Search และ Google Ad ได้เพิ่มเติม และที่สำคัญไปกว่านั้น Parameter ในการเก็บข้อมูลผ่านเว็บไซต์จะมีมากกว่าการยิง Facebook Ad โดยไม่ผ่านเว็บไซต์อีกด้วยครับ

ในแบบที่สอง ผมให้เว็บไซต์กินขาดครับ การมีเว็บไซต์ทำให้เราสามารถสร้าง Content ในรูปต่าง ๆ เพื่อแลกกับข้อมูลด้วยความเต็มใจของลูกค้า

5. การมีเว็บไซต์ สร้าง Trust ได้มากกว่า

ประโยชน์อีกอย่างของการมีเว็บไซต์ คือเรื่อง Trust ครับ

ข้อมูลจาก meek.media ระบุว่าผู้บริโภคถึง 36% ไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจธุรกิจที่ไม่มีตัวตนที่แท้จริงบนโลกออนไลน์ จากประสบการณ์ส่วนตัว ถ้าเป็นลูกค้าประเภทองค์กร เช่น บริษัทเอกชน หน่วยงานราชการ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล หรือสมาคมต่างๆ เรื่องนี้ยิ่ง Serious หนักเข้าไปอีกครับ

เหตุผลเป็นแบบนี้ครับ

ลูกค้าองค์กรส่วนใหญ่จะมีระบบจัดซื้อ ถ้าเป็น Deal ใหญ่ ๆ เจ้าหน้าที่จัดซื้อมักไม่ใช่ Decision Maker มีหน้าที่คอยจัดหาสินค้าและเจรจาต่อรองเท่านั้น หลังจากนั้นจะต้องรายงานให้ผู้บริหาร / ทีมเป็นคนตัดสินใจขั้นสุดท้ายอีกทอดหนึ่ง ด้วยเหตุนี้คนที่มีหน้าที่นำเสนอต้องมั่นใจเกิน 100% ว่าสินค้าหรือ Supplier ที่สรรหาไว้ผ่านเกณฑ์ “มาตรฐานคุณภาพ” ครบทุกมิติ

ลองนึกดูซิครับ อะไรจะเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่จัดซื้อ หากจู่ ๆ คนขายดันปิดเฟสหนีหลังจากได้รับเงินค่าสินค้าไปแล้ว

บริษัทที่ทำธุรกิจออนไลน์รูปแบบ B2B ทำรายได้จาก Organic Search สูงกว่าช่องทางอื่น ๆ เกินกว่า 2 เท่า

นอกจากนี้งานวิจัยชิ้นหนึ่งยังระบุว่าลูกค้าประเภทองค์กรมักจะเสิร์ชหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและผู้ขายผ่าน Search Engine เพื่อให้เกิดความแน่ใจก่อนตัดสินใจสั่งซื้อ ถ้าผู้ขายรายไหนมีเว็บไซต์และสามารถทำ SEO จนเว็บไซต์ติดอันดับต้น ๆ ใน Google ได้ ผู้ขายรายนั้นมักมีรายได้สูงกว่าการตลาดรูปแบบอื่น ๆ มากกว่า 2 เท่าตัวเลยทีเดียวครับ

เห็นได้ชัดว่าเว็บไซต์กับความน่าเชื่อถือมีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นถ้าอยากขายสินค้า Deal ใหญ่ ๆ ให้องค์กรระดับบิ๊ก ผมอยากจะบอกสั้น ๆ ว่าต้อง “ทำเว็บไซต์” ครับ

6. ทำเว็บไซต์ เพื่อติดอันดับบน Google

ข้อนี้ยังไง Facebook ก็สู้เว็บไซต์ไม่ได้ด้วยประการทั้งปวงครับ

การมีเว็บไซต์ช่วยให้เราสามารถทำ SEO หรือ Search Engine Optimization เพื่อติดอันดับใน Google ได้ ถามว่า Facebook ทำ SEO ได้ไหม ? ได้ซิครับ ผมใช้ Social Media ติด Google เต็มพรืดไปหมด และอีกอย่างหนึ่ง ตัวผมเองก็เปิดคอร์ส “Social SEO” สอนวิธีการทำ SEO ด้วยการใช้ Social Media ต่าง ๆ ด้วย 

แต่บวกคูณหารแล้ว ยังไง Social Media ก็ทำ SEO สู้เว็บไซต์ไม่ได้ครับ 

สงสัยใช่ไหมครับว่าสู้ไม่ได้แล้วเปิดคอร์สสอนไปทำไม ? ง่าย ๆ เลยครับ รวมพลังคูณ 2 ก็ในเมื่อมันทำติด SEO ทั้งเว็บไซต์และ Social Media ก็ทำมันทั้ง 2 อย่าง เอา Social Media ไปเติมเต็มการทำ SEO ด้วยเว็บไซต์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีก

การทำ SEO เป็นกลยุทธ์ Digital Marketing ที่สำคัญมาก ผมไม่อยากให้ตัดทิ้งจริง ๆ

1. ถ้าทำจนติดอันดับ 1-3 ในคีย์เวิร์ดที่สำคัญ ๆ ได้ Traffic ส่วนใหญ่ที่เข้ามาในเว็บจะเป็นประเภท Good Traffic หรือกลุ่มลูกค้าที่ “พร้อมซื้อ” ครับ 

53% ของคนที่ต้องการซื้อสินค้ามักค้นหาข้อมูลผ่าน Google
ก่อนตัดสินใจสั่งซื้อ

ข้อมูลนี้บ่งชี้ชัดเจนว่าการทำ SEO จะพาเราไปเจอลูกค้า “พร้อมซื้อ” คนที่ทำการค้นหาผ่าน Google ส่วนใหญ่รู้ถึงวิธีการแก้ปัญหาของตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการตัดสินใจเลือก “สินค้า” หรือ “แบรนด์” ที่คิดว่าน่าจะตอบโจทย์ตัวเองได้ดีที่สุดอยู่ เรียกว่าพร้อมควักกระเป๋าจ่ายทุกเมื่อครับ

2. การทำ SEO มี ROI กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่มีผลตอบแทนจากการลงทุนสูงที่สุด

49% ของนักการตลาดออนไลน์ระบุว่าการทำ SEO มี ROI ที่ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการตลาดรูปแบบอื่น ๆ

ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับข้อมูลชุดนี้เพราะการทำ SEO เป็นการตลาดที่ไม่ต้องพึ่งงบโฆษณา จึงมีต้นทุนต่ำกว่า (ไม่ใช่ฟรี เหมือนที่หลาย ๆ คนชอบพูด) แต่ … มีแต่ครับ … จะดีจริงหรือไม่ สุดท้ายยอดขายคือคำตอบครับ ต้นทุนต่ำ แต่ไม่มียอดขาย ROI ก็แย่เหมือนเดิม หน่ำซ้ำยังเสียเวลาเพิ่มอีกด้วย

3. การทำ SEO ช่วยสร้าง Traffic เข้าเว็บไซต์ได้สูงกว่าผลรวมของการตลาดออนไลน์รูปแบบอื่น ๆ 

ข้อมูลจาก BridgeEdge ระบุว่าการทำ SEO จนติดอันดับ Top Rank ของ Google ช่วยสร้าง Traffic เข้าเว็บไซต์ได้สูงถึง 53.3 % ซึ่งสูงกว่าผลรวมของการตลาดออนไลน์รูปแบบอื่น ๆ เสียอีก

53.3% ก็ยังถือว่าน้อยนะครับ ผมว่าคนทำ SEO ดี ๆ ต้องมี 60-65% ขึ้นครับ

4. ติดลมบนนานกว่า

การทำ SEO อาจจะใช้เวลาพอสมควรกว่าจะติดหน้า 1 Google แต่ถ้าติดได้แล้ว ก็กินได้ยาว ซึ่งต่างจากการทำ Facebook Ads ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ บ่อยกว่า ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ หรือ Content (Image / Video / Title หรือ Description ต่าง ๆ)

7. เว็บไซต์ คือ Digital Asset สุดล้ำค่า

และสุดท้ายครับ เว็บไซต์ คือ Digital Assets ที่มีทั้งคุณค่าและมูลค่าในตัวเอง ยิ่งเราสามารถสร้าง Content ที่เยี่ยมยอด จนดึงดูด Quality Traffic เข้าได้มากเท่าไร มูลค่าของเว็บไซต์จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เวลาซื้อขายกิจการกัน เขาต้องเอา Ditital Distribution Channel อย่างเว็บไซต์ไปนับรวมด้วย

เหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่อยู่ในเว็บ คือของของเราทั้งหมด …. เราเป็นเจ้าของครับ

ทำเว็บไซต์เอง ดีหรือไม่

ระหว่างทำเว็บไซต์เอง และจ้างคนอื่นทำให้ ถามว่าแบบไหนดีกว่ากัน อยู่ที่บริบทของแต่ละคนครับ ไม่มีคำตอบตายตัวครับ

ผมให้หลักการแบบนี้ครับ แต่ละท่านลองตัดสินใจกันดูเอง

ถ้าทำเองเป็น และมั่นใจว่าทำออกได้อย่างมีคุณภาพทั้งในด้าน UX และ UI แนะนำให้ทำเองครับ เพราะคล่องตัวกว่า เราสามารถปรับเปลี่ยน แก้ไข หรือเพิ่มเติมเนื้อหาในเวลาที่เราต้องการได้ทันที ต้องไม่ลืมนะครับว่าหัวใจที่สำคัญในการทำ Web Marketing อยู่ที่ความรวดเร็วและความสดใหม่ของเนื้อหา ที่สำคัญไปกว่านั้นการทำเว็บไซต์เองยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ก้อนโตอีกด้วย

คำว่าทำเอง ไม่ได้หมายความว่าเจ้าของต้องลงมือทำด้วยตัวเองเสมอไป เซ็ตทีมขึ้นมาได้ครับ

กลับกัน ถ้าทำเองไม่เป็น การจ้างมืออาชีพมาช่วยก็เป็นทางเลือกที่สมเหตุสมผล เพียงแต่ต้องตกลงกันในรายละเอียดให้ดี และควรจ้างทำเพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ในระหว่างนั้นควรพัฒนาทีมในการทำเว็บไซต์ของตัวเองขึ้นมาให้ได้ครับ

สรุปไอเดีย

สำหรับสมาชิก iWisdom ที่อ่านมาจนจบ น่าจะเห็นแล้วว่าการ “ทำเว็บไซต์” เป็นเรื่อง It’s a MUST ไม่มีไม่ได้ ท่านใดที่ยังไม่มี หรือมีแล้วแต่ยังทำงานได้ไม่ดี ถึงเวลาแล้วที่ต้องตัดสินใจแล้วครับ

สุดท้ายนี้ อยากจะปิดท้ายบทความนี้ด้วย Wrap-Up Ideas ดังต่อไปนี้ครับ

  1. เราควรทำการตลาดออนไลน์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะ SEO หรือการยิง Ad (ทั้ง  Facebook / Google / Line / Tiktok หรือ Ecommmerce Platform ต่าง ๆ) เพราะแต่ละ Platform มีกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน
  2. เราควรวางกลยุทธ์ให้ “เว็บไซต์” เป็น “ยานแม่” และวาง “Social Media Platform” เป็น “ยานลูก” โดย “ยานลูก” มีหน้าที่นำส่ง Traffic มายัง “ยานแม่”
  3. กำหนดให้ “เว็บไซต์” หรือ “ยานแม่” เป็น Hub หลักในการเก็บข้อมูล Traffic ก่อนส่งให้ “ยานลูก” นำกลับไปทำ Retargeting / Remarketing
  4. การทำ Facebook Ad ด้วยการให้ทัก Inbox ทำได้ แต่ควรใช้ในการทำ Retargeting จะมีพลังมากกว่า
  5. การมีเว็บไซต์เป็นเรื่องสำคัญ แต่สำคัญกว่าคือการ Update เว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ ถ้าไม่สามารถปรับเปลี่ยน แก้ไข เพิ่มเติม Content เองได้ เว็บไซต์อาจไม่มีพลังเท่าที่ควร
คอร์สสอนปลูกผักสลัด

คอร์สติดปีกธุรกิจ

คอร์สเติมความสุข

"ดร. คณวัฒน์" จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ" หรือ "ABAC"

"ดร. คณวัฒน์" เคยทำงานเป็นที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการของรองนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่ง และยังได้รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษสอนหนังสือระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยรามคำแหง

หลายปีก่อน "ดร. คณวัฒน์"หันมาสนใจงานด้านการเกษตรและธรรมชาติ เขาได้ก่อตั้ง "ไอฟาร์ม" เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรและสุขภาพสำหรับคนรุ่นใหม่ รวมทั้งเป็นผู้ผลิต / จัดจำหน่าย และผู้ส่งออกสินค้าที่เกี่ยวกับการเกษตรและสุขภาพอีกด้วย

"ดร. คณวัฒน์" เชื่อว่างานเกษตรเป็นอาชีพที่สร้างทั้งรายได้ และความสุขไปพร้อมกันได้หากมีความคิดที่ถูกต้อง และหากสามารถผสานความรู้ในการเพาะปลูกให้เป็นหนึ่งเดียวกับความรู้ด้านการตลาดและเทคโนโลยี่ได้